กองทุน AMD COVID-19 HPC ส่งมอบ Supercomputing เพื่อต่อสู้กับ COVID-19
กองทุน AMD COVID-19 HPC ส่งมอบซูเปอร์คอมพิวติ้งคลัสเตอร์ (Supercomputing Cluster) เพื่อนักวิจัยใช้ต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19
— AMD มอบซูเปอร์คอมพิ้วติ้ง คลัสเตอร์ ให้กับมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (Rice) มอบประสิทธิภาพการประมวลผลในระดับมากกว่า 7-Petaflops เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก —
— มุ่งเน้นพัฒนาโปรแกรมการวิจัยของสถาบันชั้นนำ ด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลขั้นสูงของโปรเซสเซอร์ และกราฟิกการ์ดของ AMD —
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 4 มิถุนายน 2563 – AMD (NASDAQ: AMD) และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี Penguin Computing Inc. ที่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท SMART Global Holdings, Inc. (NASDAQ: SGH) ประกาศว่า มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (Rice) จะเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มแรก ๆ ที่ได้รับระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ขับเคลื่อนด้วยผลิตภัณฑ์ AMD อย่างเต็มรูปแบบจากกองทุน AMD HPC Fund เพื่อวิจัยโรคระบาด COVID-19 นอกจากนี้ยังประกาศรองรับระบบคลาวด์ที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพด้วยโปรเซสเซอร์ AMD EPYC และ AMD Radeon Instinct ที่ตั้งอยู่ ณ Penguin Computing ส่งมอบประสิทธิภาพการประมวลผลในระยะไกล สำหรับนักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วทุกมุมโลก เมื่อผสมผสานเข้ากับระบบที่ได้รับมอบมาจาก AMD จะช่วยให้นักวิจัยมีใช้ประสิทธิภาพการประมวลผลมากกว่า 7-Petaflops เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19 ต่อไป
ดร. ลิซ่า ซู ประธานและซีอีโอ ของ AMD กล่าวว่า “เทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูงมีบทบาทสำคัญมากต่อการวิจัยสมัยใหม่ ช่วยให้เราเข้าใจถึงระบบการทำงานของไวรัสแต่ละชนิดมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายก็จะสามารถพัฒนาวิธีการรักษาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพออกมาได้ AMD และพันธมิตรด้านเทคโนโลยีของเรารู้สึกยินดีที่นักวิจัยทั่วโลกสามารถใช้ระบบการประมวลผลใหม่นี้ได้ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผลเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด COVID-19 และสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ในอนาคต”
AMD คาดหวังว่ามหาวิทยาลัยที่ได้รับการสนับสนุนนี้สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพการประมวลผลไปในงานที่ เกี่ยวข้องกับการระบาดในวงกว้างครั้งนี้ รวมถึง จีโนมิกส์ การพัฒนาวัคซีน การศึกษาและโมเดลการแพร่ระบาด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่กำลังวิจัยโรคระบาด COVID-19 สามารถขอเข้าถึงจากระยะไกลการประมวลผลบนระบบคลาวด์ HPC ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ AMD ที่ตั้งอยู่ที่ Penguin Computing โดยส่งข้อเสนอมาที่อีเมล COVID-19HPC@amd.com
การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก AMD กำลังเตรียมแผนการวิจัยและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพร้อมรับระบบการประมวลผล รวมไปถึง การกำหนดโครงการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อรองรับผลลัพธ์ที่จะได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
มหาวิทยลัยนิวยอร์ก (NYU)
รัสเซล แคฟลิช ผู้อำนวยการสถาบัน NYU Courant Institute of Mathematical Sciences กล่าวว่า “การแพร่ระบาดของโรคระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการวิจัยในระดับอุดมศึกษา ทั้งในแง่ของของทิศทางการดำเนินงาน และความต้องการด้านผลลัพธ์อย่างเร่งด่วน ดังนั้น การได้รับบริจาคเทคโนโลยีในครั้งนี้จาก AMD นับเป็นเรื่องที่โชคดีเป็นพิเศษ และเรารู้สึกขอบคุณ AMD เป็นอย่างมาก ทรัพยากรการประมวลผลที่ได้รับมาจาก AMD จะนำไปใช้โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จากหลาย ๆ สาขาวิชาที่อยู่ในโครงการการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านต่าง ๆ ของวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ประกอบด้วย: การค้นพบยาที่สามารถรักษาโรคระบาด COVID-19 และการกลายพันธ์ของไวรัสโรคระบาด SARS ในอนาคต, การสืบค้นผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องจากผลงานด้านชีวการแพทย์ที่มีจำนวนมหาศาล, การวิเคราะห์ทางการแพทย์ด้วยภาพเพื่อคัดกรองผู้ป่วย และการวิเคราะห์ทัศนคติด้านการเมือง และพฤติกรรมการออกเสียงเพื่อตอบสนองอุปสรรคด้านการเงิน”
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)
ดาเนียล ฮัตเตนโลเกอร์ คณบดีสถาบัน MIT Schwarzman College of Computing กล่าวว่า “ที่ MIT เราทำงานร่วมกันเพื่อจัดการโรคระบาด COVID-19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก งานด้านที่ให้ผลกระทบทันที เช่น การสร้างรูปแบบจำลอง การทดสอบ และการรักษา ไปจนถึงงานที่ให้ผลกระทบในระยะกลาง และระยะยาว เช่น การค้นพบการรักษาและวัคซีนใหม่ ๆ งานเหล่านี้เกือบทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับการประมวลผล และส่วนใหญ่ต้องใช้การประมวลผลขั้นสูง นับเป็นความปรารถดีของ AMD ที่มอบเครื่องประมวลผลระดับ Petaflop ให้กับเรา”
มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ (Rice)
โฮเซ โอนูชิค นักวิจัยจาก Center for Theoretical Biological Physics มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ ใช้งานค้นคว้าของเขาก่อนหน้านี้ในเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A (Influenza A) เป็นแนวทางในการค้นคว้าโปรตีนบนพื้นผิวของเชื้อไวรัส Coronavirus ว่าเอื้อต่อการแทรกซึมเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์หรือไม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมากของการติดเชื้อ โดยนักวิทยาศาสตร์อีกท่าน ปีเตอร์ โวลนส ใช้หลักการจากทฤษฎีพื้นฐานการม้วนตัวของโปรตีนเพื่อคัดกรองโมเลกุลของยานับพันชนิด และคัดเฉพาะส่วนผสมที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดสอบในทางการแพทย์ โดยพิจารณาจากความสามารถในการจับตัวของโปรตีนบนพื้นผิวของไวรัส
ปีเตอร์ รอสสกี คณบดีสถาบัน Wiess School of Natural Sciences มหาวิทยาลัยวิลเลียมมาร์ชไรซ์ กล่าวว่า “ของขวัญที่ได้รับจาก AMD ในครั้งนี้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อระบบการประมวลผล เพื่อต่อกรกับโรคระบาด COVID-19 ของเรา เรามีแนวทางที่จะดำเนินงาน แต่ด้วยงานค้นคว้าที่มีขนาดใหญ่ และซับซ้อนอยู่ในระดับแถ วหน้าของความต้องการด้านการประมวลผล การเข้ามามีส่วนร่วมของ AMD ในด้านประสิทธิภาพการประมวลผลที่ล้ำสมัยจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการพัฒนาเพื่อเอาชนะโรคระบาดในครั้งนี้”
พันธมิตรของ AMD
AMD ได้เข้าร่วมกับบริษัท Penguin Computing ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องโซลูชั่น HPC และ AI เพื่อนิยาม เพื่อสร้าง และเพื่อส่งมอบระบบแบบ on-premises และคลัสเตอร์ Penguin on Demanc (POD) ของบริษัท Penguin ซึ่งขับเคลื่อนประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ AMD โดยการรองรับของคลัสเตอร์ POD บริษัท Penguin จะตั้งอยู่ในพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ DataBank สนับสนุน การได้รับการสนับสนุนจาก Penguin Computing, NVIDIA, Gigabyte และพันธมิตรรายอื่น ๆ ช่วยให้กองทุน AMD HPC Fund สามารถทำให้การพัฒนาการวิจัยโรคระบาด COVID-19 ก้าวหน้าต่อไป
ซิด แมร์ ประธานบริษัท Penguin Computing กล่าวว่า “เราต้องการจะสนับสนุน และให้ความช่วยเหลืองานการวิจัยโรคระบาด COVID-19 ผ่านความร่วมมือกับ AMD เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของเราในด้านการประมวลผลขั้นสูง ปัญญาประดิษฐ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัย และการประมวลผลระยะไกลบนระบบคลาวด์ผ่านคลัสเตอร์ POD”
กีแลด เชเนอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาดเครือข่าย Mellanox บริษัท NVIDIA กล่าวว่า “ความเร็วของข้อมูลที่เร็วเป็นพิเศษ และการประมวลผลข้อมูลรูปแบบอัจฉริยะจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เป็นที่ต้องการในด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ โดยโซลูชั่น NVIDIA Mellanox HDR 200 Gigabit InfiniBand ส่งมอบความสามารถด้านการรับ-ส่งข้อมูลที่สูง ความหน่วงต่ำมาก และแอปพลิเคชั่นแบบ offroad engine ที่เร่งขั้นตอนการจำลองทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และพัฒนาการรักษา และต่อต้านโรคระบาด Coronavirus”
Gigabyte เป็นผู้จัดหาโหนดการประมวลผล G290-Z21 สำหรับคลัสเตอร์ของ Penguin สร้างขึ้นด้วยคอร์ประมวลผลแบบซิงเกิลคอร์ จำนวน 48 คอร์ บนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7642 จับคู่กับกราฟิกการ์ด Radeon Instinct จำนวน 8 ตัว โดยโหนดสำหรับการจัดการระบบ R182-291 นั้นได้รับการสนับสนุนจาก Gigabyte ซึ่งในแต่ละเครื่องใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7302 พร้อมคอร์ประมวลผล 16 คอร์
ความมุ่งมั่นของ AMD ในการวิจัยโรคระบาด COVID-19
กองทุน AMD COVID-19 HPC จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สถาบันวิจัยต่าง ๆ มีแหล่งข้อมูลสำหรับการประมวลผล เพื่อพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์เรื่องโรคระบาด COVID-19 และโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากการบริจาคระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูง AMD มูลค่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในครั้งแรกนี้แล้ว AMD ยังสนับสนุนเทคโนโลยี และทรัพยากรด้านเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลเกือบสองเท่า ให้กับห้องปฎิบัติการแห่งชาติ Lawrence Livermore National Laboratory ซึ่งนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลการสร้างแบบจำลองโมเลกุลเพื่อสนับสนุนการวิจัยโรคระบาด COVID-19
Supporting Resources
- Video from AMD President and CEO, Lisa Su
- AMD response to COVID-19
- Submit a Proposal to access the Penguin Computing on Demand cluster
เกี่ยวกับ AMD
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่ม Fortune 500 และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ website, blog, Facebook และ Twitter