ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Polaris เริ่มทำงานแล้ว เพื่อปูทางไปสู่การประมวลผลระดับ exascale ในอนาคตของ Aurora
ห้องวิจัยแห่งชาติ Argonne National Laboratory ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ได้ประกาศให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Polaris” เปิดดำเนินการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการวิจัยอันทรงพลังให้แก่ชุมชนวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม และยังทำหน้าที่เป็น”ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทดสอบ“ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลระดับ exascale* ในอนาคตอันใกล้นี้ (*exascale การประมวลผลข้อมูลได้ หนึ่งล้านล้านล้านต่อวินาที ( 1 million trillion / Sec )
“Polaris” เป็นเครื่องจักรระดับ 44 petaflops ทำให้มันเป็นระบบที่ทรงพลังที่สุดในห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Argonne ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DoE) ด้วยพลังที่มากกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Theta ถึงสี่เท่า มันถูกสร้างขึ้นโดย HPE ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของโปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ และ GPU NVIDIA ทำให้มีความคล้ายกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Frontier exascale” ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทรงพลังมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ที่ตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Oak Ridge สถาบันวิจัยชั้นนำของโลก
“Polaris” ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องล่าสุดนี้ ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อเกือบหนึ่งปีที่แล้ว มันถูกอธิบายว่าเป็น “ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทดสอบ” ซึ่งได้รับหน้าที่ให้เป็นบันไดเพื่อช่วยให้ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Argonne “เตรียมความพร้อมสำหรับระบบ Exascale ในอนาคต” (*ชื่อเครื่อง “Polaris” มีความหมายว่าเป็น “ดาวเหนือ” นำทางไปสู่ยุค Exascale)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง นี่คือแพลตฟอร์มสำหรับนักวิจัยในการเตรียมโค้ดและปริมาณงานสำหรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Aurora exascale ของ Argonne ที่กำลังจะมีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะได้รับการส่งมอบในปีที่แล้ว แต่ล่าช้าออกไป เนื่องจากรายงานจากปัญหาที่ Intel มีกับ ” Ponte Vecchio” GPU ในการจับคู่กับโปรเซสเซอร์ “Sapphire Rapids” Xeon Scalable ในระบบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Polaris” จะเริ่มสนับสนุนให้กับทีมวิจัยหลายทีมทันทีให้พร้อมสำหรับการมาถึงของ Aurora ผ่าน Exascale Computing Project (ECP) ของ DOE และ Aurora Early Science Program (ESP) ของ ALCF ตาม Argonne ระบบใหม่นี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการที่เน้นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับวิทยาศาสตร์ รวมถึงการผสานรวมเครื่องมือวิจัยขนาดใหญ่เข้ากับการประมวลผลประสิทธิภาพระดับสูง
Katherine Riley ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ Argonne Leadership Computing Facility (ALCF) กล่าวว่า
“แคมเปญการวิจัย ECP และ ESP เบื้องต้นบางส่วนรวมถึงการใช้ AI เพื่อเร่งการวิจัยโรคมะเร็ง การจำลองจักรวาลวิทยาขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาความเข้าใจของเราเกี่ยวกับจักรวาล และการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ความผิดปกติต่างๆเพื่อนำมาช่วยในการออกแบบเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” เธอกล่าวในแถลงการณ์
แม้ว่าจะใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ แต่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Polaris” ก็ยังมีสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับ Aurora อีกด้วย โดยที่ทั้งคู่เป็นระบบไฮบริดที่รวม CPU และ GPU accelerators เข้าด้วยกัน ความคล้ายคลึงกันของทั้ง 2 ส่วนนี้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆที่ใช้ร่วมกัน จะช่วยให้การเปลี่ยนไปใช้ Aurora สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ง่ายขึ้น ก่อนที่จะมีการปรับใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ exascale ตาม Argonne อย่างเต็มรูปแบบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Polaris” สร้างขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรม Apollo Gen10 Plus ของ HPE โดยที่แต่ละโหนดจะใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC™ “Milan” หนึ่งตัวบวกกับ NVIDIA A100 GPUs คลัสเตอร์ Polaris ทั้งหมดประกอบด้วยโหนด 560 โหนด และ จีพียู NVIDIA A100 จำนวน 2240 ตัว เชื่อมต่อเครือข่ายด้วย HPE Slingshot ประสิทธิภาพสูงของ HPE ®
…………………..
สเปกเครื่องของ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “Polaris”
- ซีพียู AMD EPYC™ Gen 2 ผสม Gen 3 รวม 560 ตัว
- จีพียู NVIDIA A100 จำนวน 2240 ตัว
- เชื่อมต่อเครือข่ายด้วย HPE Slingshot แบบเดียวกับที่ใช้ใน Aurora